หลักสูตร QCC Quality Control Circle ( QCC ) : คือ “กลุ่มย่อยของพนักงานระดับปฏิบัติการ รวมตัวกันเพื่อทำการปรับปรุงและรักษาระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบริการและอื่น ๆ ที่ตนรับผิดชอบ โดยใช้หลักการและเทคนิคการควบคุมคุณภาพและอื่น ๆ โดยแสดงความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาตนเองรวมทั้งพัฒนาทีมงานระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน”จุดประสงค์ของการทำ QCC :มุ่งพัฒนาความสามารถของสมาชิกและบรรลุความถูกต้องด้วยตนเอง ทำให้สถานที่ทำงานน่ารื่นรมย์และน่าพอใจยิ่งขึ้น ปรับปรุงความพอใจของลูกค้า และ ทำให้การบริหารงานขององค์กรดีขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมและการเคารพความคิดเห็นของพนักงาน
หลักสูตร เทคนิคการเป็นผู้นำกลุ่ม QCC ( QCC Leader Techniques ) สำหรับหัวหน้างานและพนักงาน
(1)บริหารการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม
– เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มเช่น การดำเนินงาน , การประชุม , การติดตามผล
– แสดงความคิดเห็น/สรุปแนวทางการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ( ไม่ใช่สั่งการหรือชี้นำ )
– กำหนดหน้าที่และให้สมาชิกกลุ่ม QC ทำกิจกรรมให้เกิดความก้าวหน้าโดยความสมัครใจ
– จัดการให้กลุ่มมีสภาพแวดล้อมในการทำกิจกรรมที่น่ารื่นรมย์ สดใสร่าเริง มีความกระปี้กระเปร่าและกระฉับกระเฉง
(2) ให้การศึกษาและ แสดงความคิดเห็นแก่สมาชิก
– ขั้นตอนและเครื่องมือสำหรับการดำเนินกิจกรรม
– พัฒนาผู้นำกลุ่มรุ่นถัดไป
(3) ติดตามผลความคืบหน้า /ประสานงานเพื่อจัดการปัญหา
– ติดตามประเมินผลการดำเนินการแต่ละขั้นตอน
– ประสานงานในทีมและนอกทีม เพื่ออำนวยความสะดวกและจัดการปัญหาที่พบ
ที่ปรึกษา QCC (QCC Advisor ) ” หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ทำหน้าที่ช่วยเหลือ แนะนำผู้ที่ต้องการที่จะบรรลุสิ่งที่ต้องการ ซึ่งแตกต่างจาก “หัวหน้างาน” คือ บุคคลที่มีหน้าที่ปกครอง ดูแล แนะนำ มอบหมาย ติดตามงาน สร้างขวัญกำลังใจ ให้คุณ ให้โทษ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อทำให้งานและลูกน้องดำเนินไปอย่าง ราบรื่น และ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของที่ปรึกษา– เฝ้าสังเกตการณ์ผลของการทำกิจกรรมกลุ่ม– ให้คำ “แนะนำ” หรือความรู้อื่นๆ แต่ “ห้ามชี้นำ”– ประเมินผลการดำเนินงานตามคำแนะนำ
– ข้อกำหนดระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2015 & IATF16949:2016 หลักสูตร IATF – การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและกระบวนการยื่นอนุมัติชิ้นส่วนการผลิต Advance Product Quality Planning(APQP)2 nd & Production-Part Approval Process (PPAP) 4th Edition
– การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการ Process Failure Mode and Effects Analysis ( PFMEA ) AIAG & VDA 1st Issued June 2019 & Control Plan
– การวิเคราะห์ระบบการวัดMeasurement System Analysis (MSA) 4th Edition
– การควบคุมกระบวนการด้วยสถิติ STATISTICAL PROCESS CONTROL : SPC 2nd
– การตรวจประเมินภายใน Internal Quality Audit ( IQA) For IATF16949
การอบรม เน้นภาคปฏิบัติในการประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง “โดยมุ่งเน้นการป้องกันข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้น” ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
หลักสูตร PFMEA AIAG & VDA เน้นกิจกรรมกลุ่มเสมือนจริงในการจัดเตรียมข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้น และกิจกรรมการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
Process Failure Mode and Effects Analysis ( AIAG & VDA FMEA ) คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์คาดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและสาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัญหาจากประสบการณ์ในอดีตของทีมงานเพื่อหาแนวทางการป้องกันให้สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาไม่เกิดขึ้นทำให้ปัญหานั้นไม่เกิดขึ้น
Measurement System Analysis (MSA)
Measurement System Analysis (MSA) คือ การวิเคราะห์คุณสมบัติเชิงสถิติของการวัดเพื่อจำแนกปัญหาที่พบในระบบการวัดซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก เช่น คน เครื่องมือ วิธีการ สภาพแวดล้อม เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบการวัดทำให้การวัดมีความน่าเชื่อถือ
จุดเด่นของหลักสูตร เน้นภาคปฏิบัติ ตั้งแต่การจัดเตรียม4M การเก็บข้อมูลผลการวัด และการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการวัด “ชัดเจนทุกรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน”
Statistical Process Control : SPC
เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยทำให้องค์กรสามารถ “ลดความผันแปรของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์” ได้เพื่อทำให้สินค้าเข้าใกล้ SPEC กึ่งกลางที่ลูกค้ากำหนดมา และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากสินค้าด้อยคุณภาพ