HIGH TIME PATTAYA กัญชา เป็นพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า มีสารเคมีอยู่ในใบกัญชาชื่อ Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญได้แก่ THC และ CBD ในปัจจุบัน กันชานิยมนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ น้ำมัน แคปซูล เครื่องพ่นไอระเหยทางการแพทย์ ไปจนถึงการนำมาใส่ในอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ และในทางการแพทย์นั้น กัญชาทุกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยแต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล
อย่างไรก็ตาม เราควรใช้สารสกัดกัญชาในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะกัญชานั้นมี ทั้งประโยชน์และโทษของการใช้กัญชา หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
ทาง HIGH TIME PATTAYA มีกัญชาหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกสรร และมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชา ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันกัญชา , weed นานาพันธุ์ ให้เลือก ผ่านการคัดกรองอย่างมีคุณภาพสดจากฟาร์ม วันนี้ทาง HIGH TIME PATTAYA จะแนะนำสายพันธุ์กัญชาไทยที่ได้ผ่านการรับรองในไทยให้กับทุกคนได้รู้จัก และรู้ถึงลักษณะของต้นกัญชาแต่ละพันธุ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
กัญชาพันธุ์ไทย ถือเป็น พันธุ์หายากและพบได้มากบริเวณเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี คาดว่ากัญชาพันธุ์ที่พบในประเทศไทยน่าจะถูกนำมาจากทางจีนตอนใต้ และมีการนำไปแยกปลูกในต่างพื้นที่ทำให้มีความหลากหลายทั้งลักษณะสัณฐานวิทยา และปริมาณสารสำคัญที่ได้ โดยแต่ละพันธุ์มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมีสายพันธุ์ดังต่อไปนี้
1. พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว
มีลักษณะของช่อดอกจำนวนมาก แน่นเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้มผสมตะไคร้
2. พันธุ์ตะนาวศรีก้านแดง
มีลักษณะของช่อดอกที่คล้ายกับพันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว แต่จะต่างกันคือมีสีแดงที่กิ่ง ก้าน และใบ ไม่มีกลิ่นฉุน มีกลิ่นหอมคล้ายผลไม้สุก
3. พันธุ์หางเสือ
มีลักษณะของช่อดอกยาวคล้ายหางเสือตามชื่อ กลิ่นหอมคล้ายเปลือกส้ม และฉุนเล็กน้อย
4. พันธุ์หางกระรอก
สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไทยสติ๊ก ได้ชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก เพราะมี สาร THC ที่สูงมาก ประมาณ 20%
และทั้งหมดนี้ก็คือสายพันธุ์กัญชาในไทยที่จดทะเบียนรับรองเรียบร้อยแล้ว ทุกส่วนของกัญชาเป็นที่รู้กันว่านำมาสกัดเป็นยารักษาโรคได้ ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ใบ เมล็ด อย่างไรก็ตามมีข้อสำคัญที่ต้องคำนึง คือ การใช้งาน ต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้เองโดยพละการ มีผู้ดูแลใกล้ชิด และไม่อยู่ระหว่างขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หากพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
กัญชามีฤทธิ์สำคัญ2ชนิด คือ THC และ CBD ประโยชน์ของกัญชามีอะไรบ้างนั้น ได้แก่
สาร THC
THC ย่อมาจาก Tetrahydrocannabinol มีฤทธฺิ์ต่อจิตประสาท ช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม นอนหลับง่าย และลดอาการตึงเครียดได้
สาร CBD
CBD ย่อมาจาก Cannabidiol สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบของแผล ลดความเจ็บปวดลง ลดอาการคลื่นไส้ ลดอาการชักเกร็ง อีกทั้งยังสามารถต่อต้านยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ผู้ที่มีโรคภาวะคลื่นไส้ หรืออาเจียนจากยาเคมีบำบัด แพทย์จะให้รับประทานยา Nabilone แต่ผู้ป่วยต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพราะมีผลข้างเคียงมีผลต่อระบบประสาท เนื่องจากสเป็นสารสกัดจากกัญชา
กัญชาสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อสำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อม บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันให้กับผู้ป่วยโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
จากงานวิจัยพบว่าสาร CBD (Cannabidiol) ที่มีอยู่ในกัญชามีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักให้ดีขึ้นได้ โดยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาใช้สารนี้แล้วบรรเทาอาการลดลงได้มากถึง 44%
มหาวิทยาลัยฟลอริดาได้ทดลองนำกัญชารักษาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากพบว่าสารเดลตา 9 มีความสามารถในการยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการทำงานของไมโทคอนเดรียได้อีกด้วย
ในกัญชามีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ หากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันใช้น้ำมันกัญชาวันละ 2-5 หยด จะช่วยลดสารโดพามีนที่มีผลต่อการอักเสบในสมอง ทำให้ระบบหลั่งสารสื่อประสาทให้ดีขึ้น
จากการศึกษาค้นพบว่ากัญชาสามารถบรรเทาอาการคัน,บวม และลดการอักเสบของผู้ป่วยได้ถึง 86.4% ทั้งในโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำและโรคผิวหนังอักเสบ
ในกัญชามีสาร Cannabinoids ซึ่งนำมารักษาผู้ป่วยที่มีโรคภาวะนอนไม่หลับ เพราะมีฤทธิ์ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ผ่อนคลาย นอกจากนี้สารตัวนี้ยังไม่ส่งผลข้างเคียงหลังจากตื่นนอนอีกด้วย
วิจัยจากมหาวิทยาลัย Southern California ค้นพบว่า กัญชาสามารถช่วยรักษาโรควิตกกังวลได้ โดยได้ทำการสำรวจจากผู้เข้าร่วมทดลอง 4,400 คน พบว่าผู้ที่ใช้กัญชามีอาการซึมเศร้าน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา
ต้นกัญชา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก ตั้งตรง ลักษณะของลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกสาขา ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ถ้าปลูกในดินร่วนซุยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์จะงอกงามดีมาก พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีเขตการกระจายพันธุ์ในอัฟกานิสถาน ทวีปแอฟริกาเขตร้อน ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และฮาวาย พบปลูกมากในยุโรป ประเทศบราซิล อเมริกันแถบตะวันออก และปลูกมากตามแนวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย
ใบกัญชา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบแตกออกเป็นแฉก ๆ ประมาณ 5-8 แฉก แต่ละแฉกเป็นรูปยาวรี ปลายและโคนสอบ ส่วนขอบใบทุกแฉกเป็นหยักแบบฟันเลื่อย มีขนาดกว้างประมาณ 0.3-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ลักษณะของใบโดยรวมจะคล้าย ๆ กับใบละหุ่ง ใบฝิ่นต้น และใบมันสำปะหลัง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างท้องใบมีสีเทาอ่อนเล็กน้อย มีขนต่อมกระจายทั่วผิวใบด้านบน ส่วนด้านล่างมีขนอ่อนนาบไปกับแผ่นใบ ก้านใบยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ในก้านหนึ่งจะมีใบเดี่ยว 3-11 ใบ มีกลิ่นเหม็นเขียว
ดอกกัญชา ออกดอกเป็นช่อที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีทั้งดอกช่อเพศผู้และดอกช่อเพศเมีย ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น โดยช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จะจัดเรียงตัวกันแบบห่าง ๆ ซึ่งต่างจากต้นเพศเมียที่จะเรียงชิดกัน ดอกเล็ก และดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่
ผลกัญชา ผลแห้งขนาดเล็ก เมล็ดล่อน ไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่กว้าง ผิวผลเรียบเป็นมัน สีน้ำตาลแกมเทาหรือสีเทาเข้ม มีใบประดับหุ้ม ในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็ก เมล็ดมีลักษณะกลม
การเตรียมสารสกัดที่มีปริมาณสารสำคัญสูง และควบคุมคุณภาพสารสกัดให้ได้มาตรฐานสากล รวมถึงด้านพิษวิทยาของ “กัญชา” ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง เพื่อเป็นข้อมูลส่งเสริมการใช้ “กัญชา” และประเมินความปลอดภัยของ “กัญชา” เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสารสกัด “กัญชา”
355 ต.บางละมุง อำเภอบางละมุง ชลบุรี 20150
เปิด ⋅ ปิด 00:00 ดูเวลาทำการเพิ่มเติม
085 277 4707